java

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ blog ของภาณุวัฒน์ ขุนอักษร และ อนุรักษ์ นิ่มหนู

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2556

อาหารพื้นบ้าน

อาหารพื้นบ้านภาคใต้
อาหารพื้นบ้านภาคใต้มีรสชาติโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ สืบเนื่องจากดินแดนภาคใต้
เคยเป็นศูนย์กลางการเดินเรือค้าขายของพ่อค้าจากอินเดีย จีนและชวาในอดีต ทำให้วัฒนธรรม
ของชาวต่างชาติโดยเฉพาะอินเดียใต้ ซึ่งเป็นต้นตำรับในการใช้เครื่องเทศปรุงอาหารได้เข้ามา
มีอิทธิพลอย่างมาก
.......... ..... .....
อาหารพื้นบ้านภาคใต้ทั่วไป มีลักษณะผสมผสานระหว่างอาหารไทยพื้นบ้านกับอาหารอินเดียใต้
เช่น น้ำบูดู ซึ่งได้มาจากการหมักปลาทะเลสดผสมกับเม็ดเกลือ และมีความคล้ายคลึงกับอาหารมาเลเซีย
อาหารของภาคใต้จึงมีรสเผ็ดมากกว่าภาคอื่น ๆ และด้วยสภาพภูมิศาสตร์อยู่ติดทะเลทั้งสองด้าน
มีอาหารทะเลอุดมสมบูรณ์ แต่สภาพอากาศร้อนชื้น ฝนตกตลอดปี อาหารประเภทแกงและเครื่องจิ้ม
จึงมีรสจัด ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ป้องกันการเจ็บป่วยได้อีกด้วย

การแต่งกาย


การแต่งกาย เนื่องจากภาคใต้ตั้งอยู่แถบศูนย์สูตร มีผลให้อุณหภูมิไม่แตกต่างกันนัก
ชาวใต้นิยม แต่งกายแบบเรียบง่าย หลวม ๆ ส่วนมากใช้ผ้าฝ้าย รูปแบบเครื่องนุ่งห่มส่วนใหญ่คล้ายกับ
ของมาเลเซียและอินโดนีเซีย เพราะอยู่ในลักษณะอากาศแบบเดียวกัน ผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงของ
ของภาคใต้ คือ ผ้ายก ผ้าจวน ผ้าไหมพุมเรียง และผ้าปาเต๊ะ ซึ่งเป็นผ้าที่นิยมกันในภาคใต้ตอนล่าง
เป็นต้น
การแต่งกายของชาวใต้
 
ผ้าพื้นเมืองของภาคใต้
 
 
...ผ้่าไหมพุมเรียง. ..ผ้ายก
...ผ้าจวน.......... .ผ้าปาเต๊ะ

ประวัติความเป็นมา

ตามหลักฐานทางโบราณคดีได้ระบุว่าแหลมมลายูเป็นศูนย์กลางการค้าขายมานาน และมีเมืองที่เจริญรุ่งเรืองหลายแห่ง เช่น ตักโกละ ลังกาสุกะ พานพาน ตามพรลิงค์ และศรีวิชัย อาณาจักรศรีวิชัย มีราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตรา (ในปัจจุบัน) เป็นอาณาจักรแรกที่มีเรื่องราวเกี่ยวพันกับดินแดนในแหลม มลายู โดยมีประเทศราชบนแหลมลายูหลายประเทศ คือ ปาหัง ตรังกานู กลันตัน ตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช) ครหิ (ไชยา) ลังกาสุกะ (อยู่ในประเทศมาเลเซีย) เกตะ (ไทรบุรี) กราตักโกลา (ตะกั่วป่า) และปันพาลา (อยู่ในประเทศพม่า) พลเมืองนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ซึ่งได้เผยแผ่มาในดินแดนแถบนี้ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13
ภายหลังที่อาณาจักรศรีวิชัยเสื่อมอำนาจลง เมืองตามพรลิงค์ ได้แยกตนเป็นอิสระโดยมีศูนย์กลางอยู่ที่แคว้นนครศรี ธรรมราช มีอำนาจปกครองเมืองต่าง ๆ ได้แก่ สายบุรี ปัตตานี กลันตัน ปาหัง ไทรบุรี พัทลุง ตรัง ชุมพร บันไทสมอ สงขลา ตะกั่วป่า ถลาง และกระบุรี

ต้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไทยอ้างสิทธิคุ้มครองเหนือรัฐมลายูทั้ง 4 คือ ไทรบุรี กลันตัน ตรังกานู และ ปะลิส โดยใช้วิธีปกครองแบบเมืองประเทศราช ให้สุลต่าน ของแต่ละรัฐ ปกครองกันเอง แต่จะต้องส่งบรรณาการ มาถวายพระมหากษัตริย์ไทย ตามกำหนดเวลา 3 ปีต่อครั้ง ฝ่ายไทย มีอำนาจ ควบคุมต่างประเทศ และได้ให้ความช่วยเหลือ แก่รัฐเหล่านี้ในกรณีที่ถูกรุกรานจากชาติอื่น รัฐบาลไทยใช้นโยบายออมชอม ปกครองรัฐมลายู และพยายาม กระชับการปกครอง เมื่อมีโอกาส พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเอง ได้เสด็จเยือนมลายูหลายครั้ง และพยายาม ยกฐานะหัวเมืองเหล่านั้น เช่น ทรงยกฐานันดร ผู้ครองรัฐไทรบุรี เป็นเจ้าพระยา จัดให้เมืองไทรบุรี ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ แทนที่จะขึ้น กับเมืองนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ เมื่อทรงปรับปรุงการปกครอง หัวเมืองจัดตั้ง มณฑลต่างๆ ก็โปรดฯ ให้ยกไทรบุรี ขึ้นเป็นมณฑล เมื่อ พ.ศ.2440 โดยรวมสตูลและปะลิส เข้าไว้ด้วย มีสุลต่าน เป็นข้าหลวงปกครองเอง และทรงใช้หลักจิตวิทยา พยายามให้เจ้าเมืองเหล่านั้น สวามิภักดิ์ต่อไทยมากขึ้น แม้จะปกครองกันเอง
ในระยะเวลาก่อน พ.ศ.2443 รัฐบาลอังกฤษ ซึ่งเริ่มเข้ามามีอำนาจ ทางแหลมมลายู ก็ยอมรับ สิทธิของไทย ดังปรากฏ ในสนธิสัญญา ระหว่างไทยและอังกฤษหลายฉบับ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี พ.ศ.2369 ปฏิญญาลับ พ.ศ.2440 และข้อตกลง ปักปันเขตแดน พ.ศ.2442 อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า ได้เกิดการโต้แย้งขึ้น ในบรรดาข้าราชการอังกฤษ ในมลายู และข้าราชการอังกฤษ ที่กรุงลอนดอน เกี่ยวกับสิทธิของไทย เหนือดินแดนมลายูอยู่เสมอ ทั้งนี้เพราะ กระทรวงอาณานิคม ของอังกฤษ มีนโยบายจะขยายอำนาจของตน ทางแถบนั้น ในระยะระหว่าง พ.ศ.2404-2423 ได้เกิดกรณีพิพาท ระหว่างรัฐบาลไทย กับรัฐบาลอินเดียของอังกฤษ เรื่องมลายูหลายครั้ง ที่รุนแรงมาก ก็เช่นกรณีเรือรบอังกฤษ ระดมยิงตรังกานู เรื่องวิวาท กรณีเขตแดนเประและรามันห์ และเรื่องการปราบผู้ร้ายข้ามแดน พวกกบฏในปะหัง หนีเข้ามากลันตัน ตรังกานู อังกฤษส่งกำลังเข้ามาปราบ ถึงในเขตไทย แต่เหตุการณ์ต่างๆ สงบลงได้ เพราะกระทรวงการต่างประเทศ ที่กรุงลอนดอน ต้องการคบไทยเป็นมิตร จึงไม่ต้องการละเมิด สิทธิของไทยในมลายู แต่ไทยตระหนักดีว่า สิทธิของไทย เหนือมลายู ยังไม่มี




วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ-สกุล ภาณุวัฒน์ ขุนอักษร
ชื่อเล่น  ซัน
เลขที่  14
อายุ  15
เกิด วันที่ 7 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2540
โรงเรียน ชะอวด
จังหวัด นครศรีธรรมราช


ชื่อ-สกุล  อนุรักษ์ นิ่มหนู
ชื่อเล่น  เอ็ก
เลขที่  29
อายุ  15
เกิด  12  ตุลาคม  2540
โรงเรียน ชะอวด
จังหวัดนครศรีธรรมราช